บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (Bangkok Expressway and Metro Public Company Limited ย่อว่า BEM)
เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจคมนาคมขนส่ง ซึ่งเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ และเอกชน
โดยบริษัทแห่งนี้เป็นคู่สัมปทานกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)
BEM เกิดจากการควบรวมกิจการกันระหว่าง บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) กับ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL)
ตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยทางบริษัทได้ยื่นจดทะเบียนก่อตั้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558
และเปิดทำการซื้อขายวันแรกเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559
ธุรกิจของบริษัท BEM แบ่งออกเป็น 4 ธุรกิจหลัก ได้แก่
1. ธุรกิจทางพิเศษ
บริษัทฺ BEM และบริษัทย่อย คือ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด เป็นผู้รับสัมปทานในการก่อสร้างและ บริหารทางพิเศษ ประกอบด้วย
- ทางพิเศษศรีรัช
- ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร และ
- ทางพิเศษอุดรรัถยา
2. ธุรกิจระบบราง
บริษัท BEM เป็นผู้รับสัมปทานการให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร
- สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีหลักสอง-สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สถานีท่าพระ) จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
และเป็นผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าอีกสองโครงการ คือ
- โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ช่วงบางใหญ่-เตาปูน (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
- โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จาก บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด
3. ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์
บริษัท BEM และบริษัทย่อย คือ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN)
เป็นผู้ดำเนินธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
- ดำเนินการจัดหาหรือทำสื่อโฆษณาบริเวณรถไฟฟ้า และ
- ให้เช่าพื้นที่ร้านค้า และ
- ให้บริการและดูแลรักษาอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมภายในสถานีรถไฟฟ้า
4. การลงทุนในบริษัทอื่น
บริษัท BEM ลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภค ได้แก่
- บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) และ
- บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด และ
- ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานทางระบบราง ได้แก่ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร
BEM ถือหุ้นในบริษัท เป็นสัดส่วนดังต่อไปนี้
NECL ก่อสร้างและบริหารทางพิเศษ 99.99%
BMN อสังหาฯเชิงพาณิชย์ 89.67% (ในสถานีรถไฟฟ้า)
TTW ผลิตและจำหน่ายน้ำประปา 18.47%
CKP ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า 16.17%
EHSR พัฒนาโครงการรถไฟ 10% (เชื่อม 3 สนามบิน)
ผู้ถือหุ้นใหญ่
1. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 4,787,121,829 คิดเป็น 31.32%
2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 1,324,299,088 คิดเป็น 8.66%
3. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 1,256,259,584 คิดเป็น 8.22%
4. ธนาคาร กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 815,356,075 คิดเป็น 5.33%
5. สำนักงานประกันสังคม 470,819,000 คิดเป็น 3.08%
6. นาย วิชัย วชิรพงศ์ 336,717,257 คิดเป็น 2.20%
7. STATE STREET EUROPE LIMITED 329,072,241 คิดเป็น 2.15%
8. ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 303,448,709 คิดเป็น 1.99%
9. Southeast Asia UK (Type C) Nominees Limited 282,652,774 คิดเป็น 1.85%
10. นาย มิน เธียรวร 200,000,000 คิดเป็น 1.31%
11. บริษัท ช.การช่าง-โตกิว คอนสตรัคชั่น จำกัด 136,659,952 คิดเป็น 0.89%
12. กองทุนเปิด กรุงศรีหุ้นระยะยาวปันผล 81,270,300 คิดเป็น 0.53%
Ref : BEM / wikipedia / set.or.th